>วัตถุประสงค์ของLTF เพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้น
ดังนั้นคนจะลงทุนต้องยอมรับความเสี่ยงได้
>LTFมี 2ประเภทคือแบบที่ลงทุนในหุ้น 100%
และถ้าไม่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง
ก็เลือกหุ้น70% ตราสารหนี้30%
แต่โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงก็ลดลงนะครับ
>การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15%ของรายได้ทั้งปี
>การนับจำนวนปีที่จะขายคืนโดยไม่ผิดกฎเรื่องภาษี
ต้องถือ LTF นาน5ปีปฏิทิน
(ซื้อปลายปีก็นับเป็น1ปี ขายต้นปีก็นับเป็น1ปี)
>ขายคืนก่อน5ปีต้องโดนทำโทษ
คืนภาษีที่ประหยัดได้ พร้อมค่าปรับอีกเดือนละ1.5%
นับจากวันที่ใช้สิทธิ ถึงวันที่ขายผิดกฎ
กำไรจากการขายกองต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย3%
และถูกนำมารวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษี
>เลือกกองLTF อย่าเลือกซื้อเพราะซื้อง่าย
ซื้อกับธนาคารที่ตัวเองฝากเงินอยู่
เพราะกองที่ธนาคารเราจะซื้อก็ไม่ใช่จะดีเสมอไป
>แหล่งศึกษาหาข้อมูลมีมากมาย
ดูที่เอกสารชี้ชวน Fund Fact Sheet
หรือเข้าไปดูที่เวปเช่น www.morningstarthailand.com
>เปรียบเทียบกองLTF ให้ดูความสม่ำเสมอของผลตอบแทน
เทียบผลตอบแทนทั้งระยะสั้น กลางและยาว
เลือกกองที่มีความสม่ำเสมอมากกว่ากองที่โลดโผน
>ดูรายละเอียดหุ้นที่กองทุนถืออยู่
ดูจำนวนของหุ้นที่กองLTF ที่เราสนใจลงทุนอยู่
ดูว่ามีจำนวนหุ้นที่ถืออยู่มากหรือน้อย
ถ้ามากก็แสดงว่ามีการกระจายตัวของหุ้นความเสี่ยงก็ลดน้อยลง
ถ้าน้อยก็แสดงว่าได้เสียกันไปเลย
ถ้าเลือกหุ้นถูกผลตอบแทนก็พุ่งกระฉูด
ถ้าเลือกผิดตัวสองตัวก็ตกกระฉูดเหมือนกัน
>ดูการกระจายตัวของหุ้น10ตัวแรก
ว่าเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
ถ้าเป็นสัดส่วนต่ำก็แสดงว่ามีการกระจายตัวสูง
ความเสี่ยงก็มีแนวโน้มต่ำกว่า
ถ้าหุ้น 10ตัวแรกเป็นเกือบทั้งหมดของพอร์ต
อย่างนี้หากหุ้นตัวใดตัวหนึ่งตก พอร์ตก็กระเทือน
>ดูตัวเลขผลตอบแทนต่อหนึ่งหน่วยความเสี่ยง
ค่าSharp Ratio เลือกกองที่มีค่านี้สูงกว่า
มันหมายถึงความคุ้มค่าที่จะเสี่ยงสูงกว่า
>ถ้าผลตอบแทนใกล้เคียงกัน Sharp Ratioใกล้กัน
ให้ดูที่อัตราส่วนค่าใช้จ่าย Expense Ratio
เลือกกองที่มี Expense Ratio ต่ำกว่า
>LTF มีทั้งแบบมีเงินปันผล และไม่มีเงินปันผล
ถ้าไม่มีความต้องการเงินระหว่างทาง
เลือกแบบไม่มีเงินปันผลดีกว่า
เพราะแบบมีเงินปันผล
เงินปันผลมาจากขายหน่วยลงทุนมาจ่าย
หน่วยลงทุนจะลดลง และปันผลต้องเสียภาษี 10%
จะลงทุนทั้งที อย่ามองแค่ภาษีที่ประหยัดได้ครับ
ถ้าเลือกไม่ดี ผลตอบแทนของกอง
อาจขาดทุนมากกว่าภาษีที่ประหยัดได้นะครับ