ผมมีคำเตือนสำหรับคนที่จะวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายต่างๆ
โดยเฉพาะเป้าหมายสำคัญๆในชีวิตครับ
อย่างเป้าหมายการเกษียณอายุ
การวางแผนการเงินมันเป็นเรื่องของสถานการณ์จริง
มาคิดร่วมกับสถานการณ์สมมุติครับ
อย่างเรื่องเกษียณสถานการณ์จริงคือ
คุณรู้ว่าตอนนี้คุณมีเงินเหลือเก็บเดือนหนึ่ง หรือปีหนึ่งเท่าไหร่
สถานการณ์สมมุติคือการออมหรือการลงทุนของคุณ
น่าจะได้ผลตอบแทนตามที่คุณคาดหวังตามนั้นตามนี้
หากคุณหรือคนวางแผนการเงินให้คุณมองโลกในแง่ดีเกิ๊น
คาดหวังผลตอบแทนซะสูง
พอถึงเวลาจริงๆกลับไม่ได้ตามที่คาดหวังนั้น
ถึงเวลาที่คุณเกษียณเงินคุณเกิดไม่ครบ
จะกลับมาแก้ตัวแก้ไขใหม่ก็ไม่ได้แล้ว
งานนี้บอกได้คำเดียวว่าความซวยบังเกิดแล้ว
ตัวอย่างเช่นคุณอยากมีเงินเกษียณในอีก 20 ปีข้างหน้า
จำนวนเงิน 20ล้านบาท
คุณคาดว่าคุณจะได้ผลตอบแทน 15%
พอคำนวณออกมาแค่เก็บปีละ 169,764 บาทก็ได้ตามเป้าแล้ว
เกิดมันไม่ได้ตามนั้นได้แค่ 10%
เงินเกษียณของคุณจะเหลือแค่ 10,695,600 บาท
พลาดเป้าไปตั้งครึ่งหนึ่ง อดเกษียณ
งานนี้ไม่เรียกว่าซวยแล้วจะเรียกว่าอะไรครับ
เวลาที่ผมจะแนะนำใครเรื่องวางแผนการเงิน
ผมมักจะบอกให้เค้ามองโลกในแง่ร้ายๆไว้หน่อย
คาดหวังผลตอบแทนต่ำๆไว้ก่อน
มันอาจจะทำให้คุณต้องเหนื่อยขึ้นในการที่ต้องเก็บเงินมากขึ้น
แต่มันจะทำให้โอกาสที่คุณจะพลาดไม่ได้ตามเป้านั้นน้อยลง
เกิดถึงเวลาลงทุนจริงมันได้มากกว่าที่คุณตั้งไว้
คุณก็อาจเกษียณได้เร็วขึ้น หรือมีเงินมากขึ้นกว่าที่คุณตั้งไว้
อย่างนี้น่าจะดีกว่าใช่ไหมครับ
เรื่องบางเรื่องต้องมองโลกในแง่ดี
แต่เรื่องวางแผนการเงินมองในแง่ร้ายไว้ก่อนก็ดีนะครับ
สบายใจกว่ากันเยอะเลย