ผมเห็นคนจำนวนมากที่พยายามหาทางว่าจะทำยังไงที่จะได้เงินเยอะๆ
ไม่ว่าจะดิ้นรนหาเงินทุกวิถีทาง
ขยันทำงานเพิ่ม เปลี่ยนงาน
หาทางลงทุนที่จะได้ผลตอบแทนเยอะๆ
บางครั้งก็ตกเป็นเหยื่อกับความโลภ
แต่ความเป็นจริงแล้วคนมักจะลืมสิ่งใกล้ตัวที่เค้าทำได้ทันที
นั่นคือการดูแลตัวเองเรื่องรายจ่าย
วันนี้ผมได้พบกับ"ซอ"
แฟนเพจที่ได้รางวัลโค้ชส่วนตัวเรื่องการเงินจากผม
น้องเค้าทำงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งมีเงินเดือน24,000 บาท
และรายได้จากงานพิเศษส่วนหนึ่ง
ทุกวันนี้มีเงินที่ได้จากงานเดิมที่ทำงานที่ญี่ปุ่น
มาออมในหุ้นมาหลายปีแล้วประมาณ2ล้านบาท
มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่หักจากเงินเดือนๆละ 9%
นายจ้างสมทบอีก 9% ที่ปัจจุบันลงทุนในกองหุ้น
นอกจากนั้นยังมีลงทุนในLTF ทุกปีเพื่อหักลดหย่อนภาษี
และมีเงินที่ออมทุกเดือนๆละ5,000 บาท
ในสหกรณ์สำหรับพนักงานได้ดอกเบี้ย 6%
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ
น้องมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวและจ่ายประกันให้แม่
รวมเดือนละแค่ 10,000 บาท
ผมถามว่าค่าใช้จ่ายส่วนตัวเดือนละไม่ถึง10,000 บาท
รู้สึกยังไงกับไลฟ์สไตล์แบบนี้
น้องบอกว่าก็ไม่ได้ลำบากอะไรอยู่ได้สบายๆ
พอใจกับการใช้จ่ายแค่นี้
พอวิเคราะห์เป้าหมายการเงินด้านต่างๆ
เงินที่ต้องมีเพื่อดูแลครอบครัวหากมีอะไรเกิดขึ้นกับเค้า
สินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินสดรวมกับประกันที่มีด็เพียงพอ
เป้าหมายเพื่อเกษียณเพื่อรักษาไลฟ์สไตล์เดิม
เมื่อคำนวณออกมาแล้วก็ต้องการเงินเพียงแค่7ล้านบาท
ลำพังเงินที่ออมกับสหกรณ์ก็น่าจะพอ
เงินที่จะได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จากหุ้นที่ออม จากLTF ที่ซื้อสะสม
ก็เป็นเงินส่วนที่จะเพิ่มความมั่งคั่งในอนาคต
หรือเผื่อเป้าหมายอื่นๆที่มีระหว่างทาง
ผมถามถึงการมีบ้านเป็นของตัวเอง
น้องตอบผมว่าก็น่าสนใจนะ
แต่ไม่ซีเรียสเพราะหากแต่งงานแม่แฟนก็ยินดีให้อยู่ด้วยที่บ้าน
เอาเงินที่จะใช้ผ่อนบ้านไว้ดูแลครอบครัวดีกว่า
ณ เวลานี้ที่ได้คุยกันพบว่าน้องได้มีการเตรียมตัว
เพื่อเป้าหมายสำคัญๆของชีวิตไว้แล้ว
เพียงแต่ต้องปรับปรุงแผนความคุ้มครองสุขภาพอีกนิดหน่อยเท่านั้น
สิ่งที่ทำให้น้องเค้ามีโอกาสสำเร็จทางการเงินได้
ไม่ใช่การที่ต้องมีรายได้สูงๆเป็นแสนเป็นล้าน
ไม่ใช่ต้องหาผลตอบแทนให้ได้ปีละ20-30%
แต่เป็นเพราะน้องเค้ารู้จักความพอเพียง
ประมาณตนเรื่องค่าใช้จ่าย
ทำให้เหลือเงินมาเก็บมาออม
ด้วยระบบการออมอัตโนมัติอย่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
และฝากประจำกับสหกรณ์ในที่ทำงาน
ถึงในอนาคตน้องอาจมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น
เช่นค่าใช้จ่ายดูแลครอบครัว ค่าใช้จ่ายการศึกษาลูก
แต่ผมก็เชื่อว่าด้วยนิสัยที่รู้จักประมาณตนเรื่องค่าใช้จ่าย
จะทำให้น้องเค้ายังสามารถมีเงินมาเก็บ มาออมได้เหมือนเดิม
ผมถึงบอกไงว่าคนจะรวยต้องเริ่มจากความเรียบง่าย
คือดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายให้ดีก่อนครับ