top of page
Writer's pictureMongkol Lu

เรื่องเงินมองแง่ร้ายมั่งก็ได้นะ

เรื่องหลายๆเรื่องในชีวิต คุณต้องเคยถูกบอก ถูกสอนให้คิดบวกใช่ไหนครับ

แต่เรื่องการเงินผมไม่แนะนำให้คุณคิดบวกนะครับ

อย่างเรื่องวางแผนการเงินเช่นวางแผนเกษียณ

ระหว่างวางแผนโดยคาดหวังว่า

จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 15% กับคาดหวังว่าได้ 8%

ผลลัพธ์ต่างกันเยอะนะครับ

เช่นคุณวางแผนที่จะมีเงินยามเกษียณ 20ล้านบาท

ถ้าตอนนี้คุณอายุ 40 คุณกะจะเกษียณที่อายุ 60

ถ้าคาดหวังผลตอบแทน 15%

แค่คุณออมเงินปีละ 169,765 บาทก็เข้าเป้าแล้ว

แต่ถ้าคุณคาดหวังผลตอบแทน 8%

คุณต้องออมเงินเพิ่มเป็น 404,670 บาท คุณถึงจะเข้าเป้า

อ่าวแล้วจะใช้ตัวไช้ผลตอบแทนตัวไหนดีหล่ะ

ผมแนะนำเลยนะครับสำหรับผู้ที่จะวางแผนการเงินเอง

คาดหวังตัวเลขน้อยๆเถอะครับ

หากคุณไปคาดหวัง 15% แล้วคุณก็เชื่อว่าจะได้ 15%

คุณเก็บเงินปีละ 169,765 บาทมาตลอด

แต่ถ้าไม่ได้ตามนั้นเช่นเหลือ 8%

คุณจะเหลือเงิน ณ วันเกษียณเพียง 8,390,282 บาท อดเกษียณเลยนะ

แล้วจะย้อนเวลามาแก้ตัวอะไรก็ไม่ได้ด้วยนะครับ

แต่ถ้าคุณคาดหวังแค่ 8% แล้วคุณก็เก็บเงินปีละ 404,670 บาท

ถึงเวลาจริงๆ คุณได้มากกว่าที่คาดก็ยิ่งดี

คุณอาจจะเกษียณเร็วขึ้นหรือมีเงินมากขึ้น ณ วันเกษียณ

มันปลอดภัยกว่าเยอะเลยใช่ไหมครับ

และผมขอฝากคนที่ทำงานวางแผนการเงินด้วยนะครับ

อย่ามองในแง่บวกนักเลย เพราะถ้าถึงเวลาไม่ได้ตามนั้น

อนาคตลูกค้าคุณดับวูบเลยนะครับ

และคุณจะโดนด่าแน่ๆ ผมบอกได้เลย

เรื่องการเงินอื่นๆเหมือนกันครับต้องมองเผื่อในทางร้ายก่อนเสมอ

เช่นหากลูกยังเรียนไม่จบ แล้วผู้ปกครองเป็นอะไรไปก่อนล่ะ

หากตอนแก่ แล้วลูกไม่เลี้ยงล่ะ

หากเจ็บป่วยขึ้นมา แล้วต้องใช้เงินรักษาก้อนใหญ่ล่ะ

หากเงินที่ลงทุนไปเสียหาย จะเอาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายล่ะ

ต้องคิดเผื่อในทางร้ายแล้วหาทางป้องกันไว้ก่อน

ถ้าไม่เป็นไปตามที่คุณกังวล แต่คุณเตรียมเงินไว้แล้ว ก็ไม่เป็นไร

แต่ถ้าเป็นไปตามที่คุณกังวล แต่คุณไม่ได้เตรียมเงินไว้ ก็คงยุ่งแน่ๆ

วางแผนการเงินเป็นการคาดหวังในอนาคต

ดังนั้นคาดหวังทางร้าย หรือคิดลบไว้ก่อน

ชีวิตของคุณ และผู้วางแผนของคุณจะปลอดภัยครับ


5 views0 comments
bottom of page