1.ถ้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทของคุณ
มีนโยบายให้คุณเลือกนโยบายการลงทุน
ที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง (Employee Choice)
หากคุณอายุน้อยมีเวลาลงทุนนาน
ให้เลือกนโยบายลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารทุนหรือหุ้นครับ
เพื่อโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดี
แล้วค่อยไปลดสัดส่วนหุ้นเป็นตราสารหนี้เช่นพันธบัตรมากขึ้น
ตอนอายุมากขึ้นหรือใกล้เกษียณ
2.กฎเกณฑ์ใหม่เค้าเปิดให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสม
ในอัตราสูงกว่านายจ้างจ่ายเงินสมทบได้
แต่ต้องเป็นไปตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับกองทุน
โดยต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 และไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง
ถ้าลงไหวให้ลงเถอะครับ
เพราะอย่างน้อยคุณก็มีเงินจากนายจ้างมาช่วยคุณออมส่วนหนึ่ง
3.หากจะลาออกจากงานให้ตรวจสอบเงื่อนไขของการจัดตั้งกองทุนให้ดี เพราะจะมีกำหนดเวลาของอายุงานหรืออายุการเป็นสมาชิกกองทุน
ที่จะได้เงินในส่วนสมทบและดอกผล
ในส่วนที่บริษัทสมทบ หากออกก่อนอดนะครับ
4.เงินหักสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลได้
โดยนำมาหักลดหย่อนได้โดยรวมกับRMF
และกรมธรรม์แบบบำนาญแล้วไม่เกิน500,000 บาท
5.หากลาออกก่อนเกษียณคืออายุ 55ปี และเป็นสมาชิกไม่ถึง5ปี
เงินส่วนที่บริษัทสมทบและดอกผลจากส่วนที่บริษัทสมทบ
ถือเป็นรายได้ที่จะต้องถูกนำมาคำนวณภาษีรายได้ด้วย
โดยมีวิธีคำนวณภาษีแบบนี้
กรณีที่ 1 อายุงานครบ 5 ปีขึ้นไป
มีสิทธิที่จะแยกยื่นในใบแนบ
และสามารถหักค่าใช้จ่าย 7,000 คูณด้วย อายุงาน (จำนวนปี)
เหลือเท่าใด หักค่าใช้จ่ายได้อีกครึ่งหนึ่ง
ส่วนที่เหลือจึงนำมาคำนวณภาษี
กรณีที่ 2 อายุงานยังไม่ถึง 5 ปี ไม่มีสิทธิแยกยื่น
จะต้องยื่นแบบฯ เป็นเงินได้ตาม ม.40(1)ทั้งหมด
และนำเงินได้มารวมกับเงินได้อื่นในการคำนวณภาษี
6.สำหรับผู้ที่ทุพพลภาพ หรือ
เกษียณอายุโดยมีอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตั้งแต่5 ปีขึ้นไป และเกษียณโดยมีอายุครบ 55 ปี
เงินได้ทั้งหมดจะได้รับยกเว้นภาษี
7.การลาออกจากงานไม่ได้หมายความว่า
ต้องรีบเอาเงินออกจากกองทุนทันที
คุณยังมีสิทธิคงเงินไว้กับกองทุน
และเมื่อที่ทำงานใหม่รับเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว
คุณก็สามารถโอนเงินจากกองทุนเก่ามาเข้ากองทุนใหม่
ซึ่งจะนับอายุงานและอายุสมาชิกต่อเนื่องได้
และเป็นการเก็บเงินก้อนนี้ไว้เพื่อใช้ในวัยเกษียณจริง
8.หากลาออกจากงานสามารถคงเงินไว้กับกองทุนเดิมโดยเสียค่าธรรมเนียมในการคงอยู่ในกองทุนเดิมประมาณ 500 บาท
โดยหลายกองทุนสามารถคงเงินค่อไปกับกองทุนได้
ซึ่งจะได้ประโยชน์เรื่องภาษีกรณีออกจากงานมาค้าขาย
หรือไม่อยู่ในระบบภาษีเงินได้แล้ว
การนำเงินออกมาช้าไปอีกหนึ่งปี
ทำให้เป็นการกระจายรายได้ในการคำนวณภาษี
ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีในอัตราสูงหากรวมกับรายได้ปกติในปีที่ออก
หรือสามารถเก็บจนครบอายุ 55ค่อยขายหน่วยลงทุน
ทำให้ไม่ต้องมีภาระภาษีใดๆ
9.กฎเกณฑ์ใหม่ เมื่อลาออกจากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือนายจ้างยกเลิกกองทุน
ลูกจ้างสามารถย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ไปลงทุนต่อในRMF ประเภทรับโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้