top of page
  • Writer's pictureMongkol Lu

4th Generation Retirement Planning

การวางแผนเกษียณยุคที่4

โดย Guy E. Baker อดีตประธานMDRT

ปัญหาเรื่องการเกษียณอายุไม่ได้

ไม่ใช่เป็นปัญหาของคนในประเทศใดประเทศหนึ่งไปแล้ว

แต่เป็นปัญหาของคนในหลายๆประเทศทั่วโลก

คำถามสำคัญเรื่องเกษียณที่คนจะเกษียณต้องตอบให้ได้คือ

1.จำนวนเงินที่เฉพาะเจาะจงที่คุณต้องมีเมื่อถึงวันเกษียณคือเท่าไร

จากการสำรวจในอเมริกาพบว่า

คนอเมริกันกว่า90% ไม่สามารถตอบคำถามข้อนี้ได้

(ผมว่าถ้าสำรวจในบ้านเราก็คงไม่แตกต่างกันหรืออาจจะหนักกว่า)

2.จำนวนเงินที่ต้องออมเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายนั้นคือเท่าไร

ถ้าข้อง1ตอบไม่ได้ก็คงหมดหวังที่จะตอบข้อ2จริงไหมครับ

3.จะมีวิธีการลงทุนอย่างไรที่จะทำให้โอกาสสำเร็จมากที่สุด

การลงทุนเพื่อเป้าหมายสำคัญอย่างเกษียณ

ไม่ใช่มุ่งหาแต่ผลตอบแทนสูงๆอย่างเดียว

แต่ต้องมองเรื่องความเสี่ยงของสินทรัพย์ลงทุนด้วยครับ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในเรื่องการวางแผนเกษียณ

1.ความไม่แน่นอนของการลงทุนระหว่างทางทั้งก่อนและหลังเกษียณ

2.อัตราเงินเฟ้อที่ทำให้ต้องเผื่อจำนวนเงินตามข้าวของที่แพงขึ้น

3.การที่ต้องวางแผนเผื่อการมีอายุที่ยืนขึ้น

4.ความยั่งยืนของแผนการเกษียณที่ต้องยั่งยืน

5.การมีรายได้สม่ำเสมอหลังเกษียณ

6.ความยืดหยุ่นของแผนการเงินที่วาง

ในช่วงเวลาก่อนที่คนๆหนึ่งจะเกษียณ

จะต้องเปลี่ยน Human Capital หรือต้นทุนชีวิต ซึ่งได้แก่

ความรู้ ความสามารถ ในการหารายได้

มาสู่ Investment Capital หรือต้นทุนการลงทุน ซึ่งได้แก่

สินทรัพย์ลงทุนที่คุณเก็บสะสม

เช่น หุ้น พันธบัตร ทองคำ อสังหาฯ เงินสด ฯลฯ

เพื่อที่จะทำให้มันเติบโต

เพื่อที่จะใช้ดูแลคนๆนั้นหลังวันเกษียณ

ในวันที่Human Capitalของเขาหมดลง

จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนเกษียณ

ที่จะต้องรู้เพื่อใช้ในการวางแผนเกษียนคือ

Safe Savings Rate จำนวนเงินที่จำเป็นต้องออม

เพื่อให้มีเงินตามเป้าหมายเมื่อถึงวันเกษียณ และ

Safe Withdrawal Rate จำนวนเงินที่จะถอนออกมาใช้

และจะมั่นใจว่ามันจะไม่หมดไปก่อนสิ้นอายุขัย

ตัวเลขจำนวนเงินทั้งสอง

จะเป็นตัวเลขที่ใช้ในการออกแบบแผนเกษียณข

เป็นตัวบอกว่าคนๆนั้นจำเป็นต้องมีกองทุนเกษียณเมื่อวันเกษียณเท่าไร

จะเกษียณได้ตามวันเวลาที่ตั้งใจได้หรือไม่

และจะมีชีวิตเช่นไรหลังวันที่หยุดงาน

สำหรับแนวคิดเรื่องค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

ที่Guy E. Baker นำเสนอให้นักวางแผนการเงิน

ใช้ในการวางแผนคือ

การแบ่งค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเป็น3ช่วงคือ

ช่วงแรก ช่วงGo Go Years ช่วงที่เริ่มเกษียณใหม่ๆ

เป็นช่วงที่ยังแข็งแรง อยากทำอะไรในช่วงที่วัยทำงานไม่ได้ทำ

ช่วงนี้ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก

ช่วงสอง ช่วงSlow Go Yearsช่วงที่เที่ยวหรือใช้จ่ายเงินลดลง

และช่วงที่สาม ช่วงNo Go Years ช่วงบั้นปลายของชีวิต

ช่วงที่ไม่ค่อยได้ไปไหนค่าใช้จ่ายลดลง

แต่อย่างไรก็ตามในความคิดของผม

ค่าใช้จ่ายสำคัญช่วงหลังเกษียณที่คนละเลยไม่ได้คือ

ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ

ที่อาจจะเพิ่มขึ้นสูงมากๆ

ดังนั้นนอกจากการดูแลสุขภาพแล้ว

ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเรื่องนี้ด้วย

ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาล ค่าดูแลสุขภาพ

หรือค่าเบี้ยประกันสุขภาพด้วย

(บางส่วนจากWorkshop MDRT 2016)


7 views0 comments
bottom of page