top of page
  • Writer's pictureMongkol Lu

ใครๆก็มีอสังหาให้เช่าได้

อยากเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ๆ

เช่นห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน

โรงงานคลังสินค้า เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์

หรือแม้แต่เป็นเจ้าของสนามบิน!!! ไหมครับ

แล้วที่เจ๋งกว่าการได้เป็นเจ้าของคือ

มีคนคอยบริหาร และเก็บผลประโยชน์เช่นค่าเช่า

ให้เราด้วยโดยที่เราไม่ต้องเข้าไปยุ่งยากอะไร

ยิ่งดีไหมครับ

บางคนบอกอยากอ่ะอยาก

แต่จะเอาเงินที่ไหนเป็นร้อยล้าน พันล้าน ไปลงทุน

ถ้าผมมีวิธีให้คุณร่วมลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาทหล่ะ

น่าสนใจไหมครับ

ผมกำลังพูดถึงเครื่องมือทางการเงินตัวหนึ่ง

ที่เปิดโอกาสให้เราได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบเงินปันผล

ที่ได้มาจากผลกำไรของการเก็บค่าเช่า

ในอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ๆ ที่ผมได้พูดถึง

เหมาะกับคนที่ต้องการรายได้ประจำ

เครื่องมือการเงินตัวนี้คือ

"กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund)" ครับ

กองทุนรวมประเภทนี้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

ผู้ลงทุนจะได้เงินปันผลจากกองทุน

ซึ่งตามกฎแล้ว

กองทุนจะต้องจ่ายเงินปันผล

ไม่ต่ำกว่า 90% ของกำไร จากค่าเช่าในอสังหาริมทรัพย์นั้น

ซึ่งจากข้อมูลในปีที่ผ่านมา

กองทุนอสังหาริมทรัพย์จ่ายเงินปันผลประมาณ6-7%ต่อปี

หมายความว่าหากคุณลงทุน 1ล้านบาท

คุณก็จะมีรายได้ปีละ 60,000 - 70,000 บาท

หรือเดือนละ 5,000 -6,000 บาท

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มีระดับความเสี่ยง

ต่ำกว่าหุ้นแต่สูงกว่าตราสารหนี้

มี 3ประเภทคือ

แบบ Leasehold เรียกภาษาชาวบ้านว่าแบบเซ้ง

แบบ Freehold แบบเป็นเจ้าของทรัพย์สิน

และแบบผสมทั้สองอย่าง

แบบLeasehold มูลค่าจะค่อยๆลดลงตามเวลาสิทธิการเช่า

แต่มีแนวโน้มมีเงินปันผลสูงกว่าแบบ Freehold

แบบFreehold จะได้ประโยชน์จาก

ราคาส่วนต่าง Capital Gain ในระยะยาว

ความเสี่ยงก็มีนะครับจากการขาดผู้เช่า

ถ้าเป็นพวกห้างฯ ความเสี่ยงตรงนี้ก็ต่ำหน่อย

ยกเว้นถูกม็อบปิด หรือไฟไหม้

ถ้าเป็นพวกโรงแรม อพาร์ทเม้นท์

ก็ลุ้นเพิ่มหน่อยช่วงLow Season

อีกอย่างที่ต้องคำนึงคือสภาพคล่อง

เพราะหากต้องการเงินเป็นก้อน

จะต้องขายในตลาดรอง

บนกระดานซื้อขายหลักทรัพย์เหมือนหุ้น

ซึ่งต้องมีคนเสนอซื้อด้วยนะครับ

แต่ถ้ากังวลเรื่องสภาพคล่อง

เดี๋ยวนี้ก็มีกองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาฯอีกที

ซื้อขายได้ทุกวันเหมือนกองทุนรวม

หากมีเงินเย็นๆ ต้องการมีรายได้ประจำ

เช่นคนที่เกษียณอายุแล้ว

หรือคนที่ต้องการกระจายลงทุนไปสินทรัพย์หลากหลาย

ลองศึกษาเพิ่มเติมกันนะครับ


15 views0 comments
bottom of page