top of page
  • Writer's pictureMongkol Lu

ในหลวงสอนเราเรื่องเงินอย่างไร

เมื่อวานผมดูถ่ายทอดสดขบวนเสด็จพระราชดำเนิน

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้ว

ในพระราชพิธีฉัตรมงคล

เห็นประชาชนมากมายรอรับเสด็จตลอดสองข้างทาง

เปล่งเสียง"ทรงพระเจริญ"ดังกึกก้องตลอดเวลา

เห็นพระพักต์ของท่านแล้วปลาบปลื้มดีใจจนน้ำตาไหล

เห็นคนไทยแสดงออกถึงความจงรักภัคดีต่อในหลวงแล้ว

ผมยังอยากให้คนไทยทุกคนได้เรียนรู้และน้อมนำสิ่งที่ในหลวงสอนพวกเรา

เรื่องการดำเนินชีวิตมาประพฤติปฏิบัติอีกด้วย

ซึ่งผมเชื่ออย่างสุดหัวใจว่าหากคนไทยนำมาปฏิบัติ

ปัญหาหลายๆอย่างในชีวิตจะหมดลงไป

หลักในการดำเนินชีวิตเรื่องเศรษกิจ เรื่องการเงินที่คนไทยเคยได้ยินแน่ๆคือ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ซึ่งประกอบด้วยหลัก

>ความพอประมาณ หมายถึงความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

>ความมีเหตุผล หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

>การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

คำว่า “พอเพียง” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541

ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา

พระราชทานความหมายของคำว่า “พอเพียง” ไว้ว่า

“…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง

มีความหมายกว้างออกไปอีก

ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น

แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน

พอมีพอกินนี้แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง…”

“…ให้เพียงพอนี้หมายความว่ามีกินมีอยู่

ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ

แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือยแต่ก็ทำให้มีความสุข

ถ้าทำได้ก็สมควรจะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ…”

“…Self-sufficiency นั้นหมายความว่า

ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่นอยู่ได้ด้วยตนเอง…”

ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ


7 views0 comments
bottom of page