top of page
  • Writer's pictureMongkol Lu

ทำยังไงหากเศรษฐกิจแย่จริงอย่างที่เค้าบอก

ช่วงนี้หากใครติดตามข่าวสารทางFacebook ทางสื่อออนไลน์

หรือในวงสนทนาที่มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุน

คุณว่าปริมาณข่าวดี กับข่าวร้ายอย่างไหนมีมากกว่ากัน

ข่าวร้าย จริงไหม

เตรียมรับซุปเปอร์โนวาทางเศรษฐกิจบ้างหละ

การใกล้ล่มสลายของดอยซ์แบงค์ ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมัน

ภาวะฟองสบู่เศรษฐกิจที่ใกล้แตกของจีน

สหรัฐอเมริกามีหนี้สินที่มากจนไม่มีทางใช้คืนได้หมด

เศรษฐกิจโลกล่มสลายจนแทบไม่มีวันหวนคืน

และข่าวร้ายอื่นๆอีกมากมาย

หลายคนมีภาวะเครียดสุดๆจากการอ่าน การฟังข่าวเหล่านี้

ที่มีหลักฐาน หลักการที่น่าเชื่อตามที่เค้าบอก เค้าวิเคราะห์มากมาย

หลายคนพาลไม่กล้าลงทุนอะไรทั้งสิ้น

เงินเก็บไว้ที่ธนาคารก็กลุ้ม เพราะเงินลดค่าทุกวัน

หุ้นเหรอ ไม่ต้องพูดถึง ไม่ซื้อไม่ว่า พอร์ตที่มีก็เตรียมล้างพอร์ต

ดูหนทางข้างหน้าช่างแสนมืดมน

แล้วจะเอายังไงกันดีหละทีนี้

อย่างแรกที่ผมขอเตือนสติกันไว้ก่อนคือ

ฟังดูอ่านเรื่องราวเหล่านี้แล้ว

ผมอยากให้ตระหนัก ไม่ใช่ตระหนกครับ

เหตุการณ์ที่กูรูเหล่านั้นวิเคราะห์อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ครับ

ที่เคยผ่านมาก็มีทำนายหรือวิเคราะห์ผิดกันเยอะแล้ว

แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าอย่าเชื่อ หรือให้ประมาทนะครับ

เพียงอย่าถึงกับกลุ้ม หรือถึงกับเครียดจนแย่

แค่ให้ระมัดระวัง หรือเตรียมพร้อมกันไว้บ้างก็แค่นั้นครับ

แล้วเราจะเตรียมพร้อมยังไงกันดีหละ

อย่างแรกเลยคุณต้องระมัดระวังแหล่งรายได้ของคุณ

เตรียมควรเตรียมพร้อมหากเศรษฐกิจแย่จริงๆ

คุณมีแหล่งรายได้จากงานอื่นๆ นอกเหนือจากงานที่คุณกำลังทำอยู่หรือเปล่า

เงินฉุกเฉินที่คุณจะพอมีใช้ระหว่างตกงานพอที่จะอยู่ได้สัก 8 เดือน 12 เดือนไหม

ต่อมาคือการเคลียร์หนี้สินที่มีให้เหลือน้อยที่สุด

โดยเฉพาะหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยที่สูง

ดูแลค่าใช้จ่ายไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัว

ส่วนเงินเก็บเงินลงทุนคุณหละ จะเลิกลงทุนเลยดีไหม

หรือไปซื้อทองมานอนกอดไว้ที่บ้านดี

หรือไปซื้อที่ ซื้อบ้านเพื่อลงทุนดี

หรือไปซื้อพันธบัตรทั้งหมดดี ความเสี่ยงน้อย

คำแนะนำคือทำมันทุกอย่างหละครับ

กลยุทธการลงทุนอย่างนี้เค้าเรียกกันว่า

“การจัดสรรสินทรัพย์ Asset Allocation”

ซึ่งเป็นกลยุทธสำคัญที่ทุกการวิจัยเรื่องการลงทุนบอกว่า

มีผลต่อความสำเร็จของการลงทุนระยะยาวมากที่สุด

วิธีนี้แตกย่อยเป็น 3ประเภทคือ

การกระจายตัวในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน

เช่นการมีหุ้นหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม

อย่างมีทั้งหุ้นพลังงาน ค้าปลีก การเงิน หุ้นเล็ก หุ้นใหญ่

ตราสารหนี้ภาครัฐ และภาคเอกชน

การกระจายตัวหลากหลายสินทรัพย์

อย่างมีทั้งหุ้น ทั้งพันธบัตร อสังหาฯ พลังงาน ทองคำ

กระจายตัวไปหลากหลายภูมิภาค

อย่างมีทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ พันธบัตรไทย พันธบัตรต่างประเทศ

วิธีการจัดสรรสินทรัพย์อย่างนี้

ไม่ได้ช่วยให้ผลตอบแทนระยะสั้นๆเพิ่มขึ้นนะครับ

แต่มันทำให้ลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนของคุณ

ไม่ให้มันตกแรงเท่ากับการทุ่มลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียว

มันทำให้คุณทนไหวยามที่เศรษฐกิจ หรือตลาดหุ้นผันผวน

ส่วนสัดส่วนของสินทรัพย์แต่ละประเภทจะเป็นอย่างไร

ก็ขึ้นกับระดับความเสี่ยงที่คุณรับไหว

ผลตอบแทนที่คุณคาดหวัง ระยะเวลาที่คุณลงทุน

วัตถุประสงค์การลงทุนที่คุณต้องการ

ส่วนสัดส่วนจะเป็นอย่างไร

จะลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายได้ยังไง

เดี๋ยววันหลังผมจะมาเล่าให้ฟังนะครับ

วันนี้อยากให้คุณไม่ตระหนกจนเกินไป

มันมีทางออกเสมอ

แล้วอีกอย่างคุณเชื่อผมไหม

ทุกวิกฤติมันมีโอกาสพิเศษสุดๆแฝงอยู่เสมอ

อ่านถึงตรงนี้พอสบายใจกันขึ้นหรือยังครับ


6 views0 comments
bottom of page