top of page
  • Writer's picturecharintip netiboonyanon

จิตวิทยาการออมเงิน ด้วยการใช้เงินสด


ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) กันอย่างเต็มรูปแบบแล้วนะครับ เราจะสังเกตได้ว่า คนส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้จ่ายผ่านการแสกน QR Code หรือผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) กันมากขึ้น


อันที่จริงก็เป็นระบบที่สะดวกสบายและให้ประโยชน์พอสมควร แต่สิ่งที่ตามมาคือ ทุกครั้งที่เราใช้จ่ายผ่านระบบต่างๆ จะมีความรู้สึกบางอย่างหดหายไป ความรู้สึกนั้นเรียกว่า



Small Change: Money Mishaps and How to Avoid Them ของ แดน อารีลีย์ และเจฟฟ์ ไครส์เลอร์ ได้อธิบายถึงความรู้สึกนี้ เอาไว้ว่ามันเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในเวลาที่เราต้องเสียเงินไป และจะเกิดขึ้นกับการใช้ "เงินสด" มากกว่าการใช้จ่ายเงินผ่านระบบ


#เช่นถ้าคุณต้องซื้อมือถือในราคา30000บ หากคุณรูดบัตรเครดิต หรือ จ่ายผ่านระบบต่างๆ เราจะไม่รู้สึกเจ็บปวดมาก เท่ากับการต้องนับแบ๊งพัน 30 ใบ แล้วยื่นให้พนักงานขายทั้งก้อน


ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม มีคำอธิบายเรื่องนี้ว่า #เมื่อเราต้องจ่ายเงินสด Pain of paying จะสูงขึ้น และสูงมากขึ้นเมื่อเป็นเงินก้อนใหญ่


ในขณะที่การจ่ายด้วยบัตรเครดิตอาจจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกนั้นได้ แต่เป็นวันที่ถูกเรียกเก็บเงินจากบัตรแล้ว แต่ไม่ใช่ขณะตัดสินใจ และอาจจะไม่มีผลต่อความยับยั้งชั่งใจของเราแล้ว


เมื่อเรารู้ว่าการใช้จ่ายเงินสด ด้วยการหยิบจ่ายเงินจริงๆ จะทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด ในเวลาที่เราต้องการซื้อของอะไรบางอย่าง หรือเก็บเงินเพื่อซื้อของบางอย่าง ลองเก็บหรือใช้จ่ายในรูปแบบของ "เงินสด" ดูครับ


#ความรู้สึกเจ็บปวดจากการควักเงินออกมาจะรุนแรงมาก และในบางครั้งจะช่วยให้เรายับยั้งชั่งใจได้ทันที เราจะคิดเยอะขึ้น รู้สึกเสียดายมากขึ้น เพราะรู้สึกใจหาย กับการที่เงินตรงหน้าต้องหายไป


บางคนหยอดกระปุกเก็บเงิน ได้มาหลายหมื่นด้วย เป้าหมายอยากได้มือถือใหม่ แต่พอเห็นเงินทั้งหมดจะหายไป ก็เปลี่ยนใจไม่ซื้อ เพราะทำใจไม่ได้กับการจะจ่ายเงินก้อนนี้


จริงอยู่ที่การใช้ชีวิตในยุคสังคมไร้เงินสด (Cashless society) ก็มีข้อดี เช่น ปลอดภัยกว่า ไม่เสี่ยงถูกขโมย มีหลักฐานที่สามารถย้อนดูได้ว่าเราใช้เงินไปกับอะไรบ้าง แต่สำหรับใครที่ยังรู้สึกว่า ไม่มีวินัยมากพอในการใช้จ่าย และกำลังต้องการต้อง "สร้างความยับยั้งชั่งใจ" ให้มากขึ้น


ผมว่านี่เป็นวิธีเล็กๆที่ช่วยเราได้มากนะครับ

8 views0 comments
bottom of page